ธุรกรรมการเงินในระบบอิสลาม

โดย ดร.สมีธ อีซอ


ความคิดการก่อตั้งระบบการเงินการธนาคารที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม ผ่านการก่อตั้งธนาคารอิสลามและสถาบันการเงินต่างๆ ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นในภูมิภาค ตะวันออกกลาง (Middle East) และได้ขยายตัวออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วโลกที่มีประชากรมุสสลิมอยู่ จึงทำให้ธุรกรรมการเงินอิสลามคือตัวหลักในการที่จะพัฒนาระบบเศรษกิจในภูมิภาคดังกล่าว นักวิชาการนิติศาสตร์อิสลามสมัยใหม่ ได้ศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์พร้อมกับการประยุกต์ธุรกรรมการเงินให้ถูกต้องตามหลักบทบัญญัติอิสลามตั้งแต่เมื่อดอกเบี้ย (Riba) เป็นที่ต้องห้ามในอัลอิสลามและเพื่อให้สอดคล้องกับระบบการเงินในปัจจุบัน โดยใช้ธุรกรรมการเงินต่างๆในสมัยท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล) นำมาใช้ในปัจจุบันให้สอดคล้องตามหลักการและร่วมสมัย ซึ่งจะนำบางตัวอย่างธุรกรรมการเงินอิสลามปัจจุบันนำมาอธิบายดังต่อไปนี้

Wadiah Concept (Safe keeping)
หลักการของวาดีอะฮ์ คือ หลักของการรับฝากของหรือการเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์สิน ซึ่งเป็นหลักของการรับฝากตามหลักชะรีอะฮ์ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ หลักการคือ
1.วาดีอะฮ์ยัดอมานะฮ์ (Safe keeping or Trustee) คือการรับฝากทรัพย์หรือเงิน ผู้รับฝากเป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์สินหรือเงิน ผู้ฝากไม่มีสิทธิ์ที่จะได้ผลตอบแทนแต่ในทางกลับกันอาจต้องเสียค่ารักษาทรัพย์หรือเงิน
2.วาดีอะฮ์ ยัด ดอมานะฮ์ (Saving with guarantee) คือการรับฝากทรัพย์สินหรือเงิน ผู้รับฝากกลายเป็นผู้ค้ำประกันและมีหน้าที่ต้องจ่ายคืนเงินทันทีที่ผู้ฝากต้องการผู้ฝากไม่มีสิทธิ์เรียกร้องผลตอบแทน แต่ผู้รับฝากอาจให้ผลตอบแทนได้เพื่อเป็นสินน้ำใจ (hibah) แต่ไม่ใช่เงื่อนไข
ธนาคารอิสลาม ได้ใช้หลักการวาดีอะห์ ในการเปิดบัญชีและรับฝากเงินจากลูกค้าโดยแบ่งเป็นบัญชีออมทรัยพ์ (Saving Account) และ บัญชีกระแสรายวัน (Current Account) โดยมีการแบ่งผลตอบแทน เป็นสินน้ำใจ (hibah) โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องให้ หรือ ให้เท่าไหร่

Mudarabah (Profit sharing Concept)
หลักการของมูดอรอบะฮ์ คือ การที่บุคคลคน ๆ หนึ่งเป็นผู้ลงทุน หรือเป็นเจ้าของเงิน (เรียกว่าrabb-al-mal) ลงเงินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งไปทำธุรกิจ (เรียกว่าmudharib หรือ fund manager) โดยฝ่ายหลังเป็นผู้ลงแรง และตกลงสัดส่วนในการแบ่งปันกำไรกันล่วงหน้าถ้ากิจการที่นำเงินไปลงทุนมีกำไร ในกรณีที่เกิดการขาดทุนขึ้น ผลขาดทุนที่เป็นตัวเงินจะเกิดขึ้นกับผู้ลงเงิน ส่วนผู้ทำธุรกิจก็จะไม่ได้ผลตอบแทนเช่นกัน ธนาคารอิสลามใช้หลักการเปิดบัญชี มุดอรอบะห์ Mudarabah Account ให้ลูกค้านำเงินมาฝาก และนำเงินฝากของลูกค้าไปให้ผู้ทำธุรกิจในการดำเนินงาน เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดจะนำกำไรมาแบ่งกัน

Murabahah (Markup financing)
การขายแบบมุรอบาฮะฮ์คือการขายที่ผู้ขายสินค้าแจ้งให้แก่ผู้ซื้อสินค้าทราบทั้งต้นทุนของสินค้าที่ซื้อและกำไรที่ผู้ขายต้องการหรือ การขายที่ยืนอยู่บนหลักการของ ต้นทุนสินค้า+กำไร หรือ Cost-plus หรือ Mark-up ราคาขายของ มุรอบาฮะฮ์ จะเป็นการจ่ายเงินในเวลานั้น Spot-sale หรือ ผ่อนเป็นงวดๆ Deferred Sale ก็ได้ โดยปกติแล้ว Spot-sale ราคาจะถูกกว่า Deferred sale เช่น การซื้อขายรถยนต์ เริ่มต้นด้วยกับการที่ลูกค้าต้องการรถยนต์หนึ่งคันและได้เข้าไปหาธนาคาร ธนาคารจะแต่งงตั้งให้ลูกค้าเป็นผู้เชียวชาญและเป็นตัวแทนธนาคาร ไปซื้อรถยนต์ โดยใช้เงินสดของธนคาร เมื่อได้รถยนต์มาแล้ว ธนาคารขายรถยนต์ให้กับลูกค้า โดยใช้หลักการมุดอราบะห์ การขายที่บอกต้นทุนและกำไร โดยที่ลูกค้าอาจจะใช้การชำระเงินผ่อนเป็นงวดๆ
Musharakah (Joint Venture)
คือ การเข้าร่วมหุ้นหรือร่วมทุนในการทำธุรกิจเพื่อสร้างกำไร โดยกำไรที่ได้รับจะถูกแบ่งกันในระหว่างหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมทุนตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ก่อน ในกรณีที่เกิดการขาดทุนทั้งหุ้นส่วนทั้งสอง จะร่วมกันรับผิดชอบในผลการขาดทุนตามสัดส่วนของการร่วมหุ้นหรือร่วมทุน

Ijarah Rent and Leasing
Ijarah หมายถึงการให้บริการ หรือ การให้เช่า โดยหลักของ อิญาเราะฮ์ แล้วคือการเอา ๐Object๑มาให้บริการหรือให้เช่าเพื่อหาผลตอบแทน หรือในกรณีที่จ้างคนมาทำงานโดยจ่ายค่าจ้างเป็นผลตอบแทน เป็นรายวัน รายเดือน หรือจ้างเหมา แบ่งออกเป็น 2 แบบ

  1. Ijarah Thumma al Bai (Leasing to Purchase)

                หลักการของ Ijarah Thumma al Bai ก็คือ การเช่า หลังจากหมดสัญญา ผู้ให้เช่าจะต้องขายให้ผู้เช่าในราคาที่กำหนดไว้ เจ้าของทรัพย์ขายทรัพย์ให้แก่ธนาคาร ทำให้ธนาคารเป็นเจ้าของทรัพย์ ธนาคารนำทรัพย์ไปให้ลูกค้าเช่า โดยทำสัญญากับลูกค้า ๒ สัญญาคือ สัญญาเช่าทรัพย์ และสัญญาซื้อทรัพย์ เมื่อลูกค้าชำระค่าเช่าตามเงื่อนไขและข้อตกลงในสัญญาเช่าจนหมด สัญญาซื้อขายทรัพย์ก็จะมีผลทันทีโดยอัตโนมัติลูกค้าซื้อทรัพย์ตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขาย ดังนั้นสิทธิในทรัพย์สินก็จะตกเป็นของลูกค้า

  1. Ijarah wa Iqtisna (Hire-Purchase or Leasing and Promise to Gift)

หลักการของ Ijarah wa Iqtisna ก็คือ สัญญาเช่าซื้อที่ ธนาคารนำทรัพย์สินมาให้ลูกค้าเช่าตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน และผูกพันกันตามเงื่อนไขว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า ทรัพย์สินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ข้อผูกพันหรือข้อสัญญาโอนทรัพย์ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ ธนาคารคิดค่าเช่าบวกกำไรที่ธนาคารต้องการตลอดอายุสัญญา

Salam (Forward Sale)
คือการขายที่มีการส่งมอบสินค้าในอนาคตส่วนค่าสินค้าชำระในวันที่ตกลงซื้อขายกัน สินค้าที่ตกลงซื้อขายกันจะต้องกำหนดคุณสมบัติ ขนาด และระยะเวลาส่งมอบสินค้าอย่างชัดเจน การขายแบบซาลัมได้รับการอนุญาตถึงแม้สินค้าจะส่งมอบทีหลัง แต่ต้องชำระเงินค่าสินค้าทันทีที่ตกลงในราคาและเงื่อนไขของการขาย เมื่อตกลงกันแล้วไม่สามารถยกเลิกได้ ธนาคารเมื่อนำหลักของซาลัมมาใช้ ธนาคารต้องนำหลักการค้ามาใช้ด้วย คือการที่ธนาคารเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายพร้อมกัน จากการที่ธนาคารมี ๒ บทบาทธนาคารจำเป็นต้องใช้หลักดังต่อไปนี้มาเป็นองค์ประกอบในการทำธุรกรรม คือ

  1. Parallel Salam 2. Promise to Purchase from third party 3. Agency Salam

 

Istisna Sale (Manufacturing Sale)
Istisna Sale คือการขายสินค้าที่ต้องผลิตขึ้นโดยมีการตกลงในคุณสมบัติและราคาของสินค้าอย่างชัดเจน ระยะเวลาในการส่งมอบสินค้ามีความยืดหยุ่น ไม่เหมือน ซาลัมที่ไม่ยินยอมให้มีการยืดหยุ่น การชำระเงินสามารถแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ได้ การขายแบบอิสติสนามีเงื่อนไขดังนี้คือ
ต้องเป็นสินค้าที่ต้องผลิตขึ้น หรือต้องสร้างขึ้น//ต้องตกลงคุณสมบัติของสินค้าอย่างชัดเจน//ต้องมีการตกลงราคาล่วงหน้า//การชำระเงินค่าสินค้าสามารถจ่ายเป็น งวด ๆ ได้//ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบมาเพื่อผลิตสินค้า//ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาลูกจ้างหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือคนงานทาเพื่อผลิตสินค้า//ผู้รับจ้าง หรือ ผู้จ้างสามารถยกเลิกการซื้อก่อนการผลิต//กำหนดการส่งมอบไม่ใช่เงื่อนไขหลัก

Sarf (Foreign Currency Exchange)
Sarf คือการซื้อขายและแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การแลกเงิน คือการซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งที่เป็นเงินตรากับเงินตราไม่ว่าจะเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินที่ทำจากทองหรือแร่เงิน หรือธนบัตรที่มีการใช้ในปัจจุบัน ให้หลักการเดียวกับหลักการของทองคำแลกทองคำ เงินแลกเงิน เพราะเงินตรามีมูลค่าเหมือนกัน โดยมีหลักการดังนี้
ถ้าเป็นเงินตราประเภทเดียวกัน เช่น เงินบาทและกับเงินบาทต้องมีมูลค่าเท่ากันและต้องส่งมอบทันที//กรณีที่เป็นเงินต่างชนิดกัน เช่นเงินบาทแลกกับเงินสหรัฐ อนุญาตให้มีการเกินเลยได้ แต่ต้องส่งมอบทันที่เช่นกัน

Mode of Al-Ajr or Ujr
การคิดค่าธรรมเนียม Ajr (อัจญ์) คือค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ โดยธนาคารจะเรียกเก็บจากลูกค้า

Mode of Hibah
การให้ของกำนัลหรือสินน้ำใจ เงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ของกำนัลหรือสินน้ำใจ คือ
สิ่งที่อนุมัติให้ขายได้ ก็อนุมัติให้ทำเป็นของกำนัลได้เช่นกัน//ผู้ที่รับมอบของกำนัลจะต้องได้รับมอบของกำนัล จึงจะถือว่าเป็นการให้ของกำนัลที่ถูกต้อง และเป็นสิทธิของผู้รับมอบนั้น//ไม่อนุญาตให้เอาของกำนัลคืน

Qard (Islamic Loan)
Qard คือการให้ยืมเงิน โดยผู้ให้ยืมต้องการที่จะช่วยเหลือผู้ยืม ผู้ยืมมีหน้าที่ที่จะต้องชำระคืนเงินยืมให้ครบ เงินยืมประเภทนี้จะคิดผลตอบแทนไม่ได้ ผู้ยืมอาจให้ผลตอบแทนแก่ผู้ให้ยืมก็ได้แต่ห้ามตกลงเป็นเงื่อนไขตั้งแต่เริ่มแรกของการยืม ธนาคารสามารถที่จะคิดค่าธรรมเนียมการบริการได้ตามความเหมาะสม

*Reference from Compliance Manual of Islamic bank of Thailand