วิวัฒนาการระบอบธนาคารอิสาม

โดย ดร.สมีธ อีซอ

หลักการของอัลอิสลาม ได้ถูกบทบัญญัติมาในทุกๆด้านของการดำรงชีวิตประจำวัน และนั่นก็รวมไปถึง ระบบธุรกรรมการเงิน ที่ถูกต้องตามแบบฉบับของอัลอิสลาม (ชารีอะห์) อิสลามส่งเสริมให้ทุกๆคนทำอาชีพ หารายได้สู่ครอบครัว โดยอยู่ในขอบเขตและหลักเกณฑ์ที่อิสลามกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการทำธุรกิจ ค้าขาย การบริการ หรือ การเลี้ยงสัตว์ และอื่นๆเนื่องจากระบบการเงินในปัจจุบัน มีสิ่งต่างๆมากมาย ที่ผิดหลักการ (ฮารอม) อยู่มากมาย จึงทำให้ประชาชาติมุสลิมได้มองหาทางออก หาแนวทางใหม่ๆ มาเพื่อใช้ให้สอดคล้องกับหลักการของอัลอิสลาม เพื่อดำรงไว้ซึ่งการศรัธรา และยึดตามแนวทางที่พระเจ้าทรงสั่งใช้ ดังนั้น ระบบการเงินอิสลาม Islamic financial แนวทางหรืออุดมการณ์เบื้องหน้า มิได้เกิดจากสิ่งใดเลยนอกจาก เบื้องหลังคือการศรัธราอีหม่าน และการปฏิบัตตามในสิ่งที่อนุมัติ ตามที่อัลอิสลามกำหนดเอาไว้

หลักการและแนวทางต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อ 1400 ปีที่ผ่านมา โดยทีท่านร่อซู้ล ซ.ล ได้ปฏิบัติและทำแบบอย่างเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การห้ามเกี่ยวพันกับดอกเบี้ยทุกชนิด, การห้ามค้าขายของที่คุ้มเครือ การขายซาลัม (การค้าขายส่งสินค้าในภายหลัง) รูปแบบการลงทุนทำธุรกิจ (มุดอราบะห์) ที่ท่านได้ทำร่วมกับพระนางคอดีเยาะห์ และกฏเกณฑ์แบบอย่างต่างๆมากมายในธุรกรรมการค้าขาย ระบบการเงิน การลงทุนร่วมในธุรกิจ และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ได้ถูกทำแบบอย่างเอาไว้

ดังนั้นเอง นักวิชาการสมัยใหม่ ได้ใช้แนวทางต่างๆ ของท่านร่อซู้ล ซล นำมาประยุกต์ และนำมาใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในสังคมโลกปัจจุบัน จึงได้มีแนวทางริเริ่ม ในเรื่องธุรกรรมการเงินตามระบอบอิสลาม ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น สถานบันการเงินอิสลาม (Islamic Financial Institution), ธนาคารอิสลาม (Islamic Banks), กองทุนอิสลาม (Islamic Mutual Fund), สถาบันการประกันภัยอิสลาม (Islamic Insurance) และสถาบันการเงินอิสลามอื่นๆอีกมากมาย
แนวทางการริเริ่มก่อตั้งธนคารอิสลาม เกิดขึ้นเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีนักวิชาการศาสนาได้ทำการปรึกษาหารือในแนวความคิด การปราศจากดอกเบี้ย แต่ยังไม่สามารถทำอะไรได้เต็มที่มากนัก เมื่อสงครามสิ้นสุดลง บรรดากลุ่มประเทศมุสลิม ได้รับอิสราภาพ แนวความคิดดั่งกล่าวก็ได้ถูกทำเป็นรูปร่างขึ้น

การก่อตั้งธนาคารอิสลามสามารถแบ่งออกได้เป็ 3ยุคสมัย

ยุคแรกของธุรกรรมการเงินสมัยเริ่มแรกของอิสลาม หรือสมัยท่านรอซู้ล ซ.ล
            เมืองมักกะห์ ในยุคนั้นเป็นเมืองที่ความเจริญรุ่งเรืองและเป็นเมืองที่มีสำคัญหนึ่งของกลุ่มอาหรับ เป็นทางผ่านไปยังหัวเมืองต่างๆ และเป็นตลาดศูนย์กลางในการทำธุรกิจ ทางด้านการค้าขาย และเมื่อท่านรอซู้ล ซ.ล ได้ทำถูกแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูต ท่านร่อซู้ลก็ได้แจ้งถึงการต้องห้ามในเรื่อง ดอกเบี้ย (ริบา) และสิ่งที่ต้องห้ามอื่นๆในการทำการค้าขาย ท่านร่อซู้ลได้ทำการค้าขายกับพระนางคอดีเยาะห์ โดยใช้รูปแบบ มุดอรอบะห์ นั่นก็คือ พระนางคอดีเยาะห์ออกทุนทรัพย์ ท่านรอซู้ลเป็นผู้ออกแรงและเป็นผู้จัดการในเรื่องของสินค้า เมื่อสิ้นสุดก็จะมีการแบ่งกำไรกัน ตามที่ได้ตกลงกันไว้
                ท่านร่อซู้ล ซ.ล เป็นผู้หนึ่งทีมีชื่อเสียงในเรื่องซื่อสัตย์ เป็นผู้ไว้ใจได้เชื่อใจได้ ดังนั้นจึงมีผู้คนต่างๆนำสิ่งของมาฝากกับท่านร่อซู้ลมากมาย เมื่อท่านร่อซู้ลก่อนที่จะอพยพไปมาดีนะห์ ท่านก็ได้ใช้ให้ ซัยยิดินาอาลี ได้คืนของต่างๆเหล่านั้นให้กับเจ้าของ จึงทำให้เป็นต้นแบบของการฝากในรูปแบบ วาดีอะห์ ยัดอามานะห์ และในสมัยท่าน ซู้เบ้ร บินอัลเอาวาม ท่านผู้นี้ก็เป็นผู้ทีหนึ่งทีมีชื่อเสียงในเรื่องความไว้วางใจได้จึงมีผู้คน นำเงินและสิ่งของมาฝากอย่างมากมาย แต่ท่านซูเบ้ร ได้ปฏิเสธรูปแบบของการฝาก และได้เปลี่ยนรูปแบบการฝากเป็นอีกรูปแบบหนึ่งนั่นก็คือ เปลี่ยนจากการรับฝาก วาดียอะห์ ยัดอามานะห์ มาเป็นรูปแบบของ วาดีอะห์ ยัดดอมานะห์ (ในรูปแบบของหนี้)  เนื่องจากเหตุผลว่าการรับฝากวาดียะห์หากมีการรักษาเป็นอย่างดีแล้วเกิดการเสียหายไม่จำเป็นที่ผู้รับฝากจะต้องชดใช้ และเมื่อฝากสิ่งใดก็จำเป็นต้องคืนสิ่งนั้น และไม่สามารถมีสิทธ์อะไรที่จะใช้ในสินทรัพย์ใดๆทั้งสิ้น ในเมื่อเป็นรูปแบบของวาดีอะห์ ยัดดดอมานะห์ เมื่อมีเงินสูญหาย จำเป็นต้องรับใช้ และมีสิทธ์ในการที่จะใช้สินทรัพย์นั้น นี่ก็คือสิ่งหนึ่งที่เป็นรูปแบบจนมาถึงปัจจุบันในรูปแบบของธนาคารอิสลามปัจจุบัน
                ถึงแม้ในสมัยเริ่มแรกของอิสลามจะไม่มีธนาคารอิสลามอย่างเป็นรูปแบบ แต่การทีท่านรอซู้ลได้นำหลักการต่างของอัลอิสลามมาใช้ในเรื่องการค้าขายหรือธุรกรรมด้านการเงินและด้านอื่นๆ นั่นก็เป็นจุดริเริ่มและแบบอย่างที่ดีที่นักวิชาการปัจจุบันได้นำแบบอย่างเหล่านั้น มาก่อตั้งธนาคารอิสลามในยุคปัจจุบัน โดยให้สอดคล้องกับหลัการ ) ชารีอะห์อิสลาม)

ยุคกลางของแนวความคิดการก่อตั้งธนาคารอิสลาม
            ในยุคกลางนั้นเริ่มต้นแต่ สมัย คอลีฟะห์อุสมาน และต่อมา ยุคสมัยราชวงค์ อุมาวียะห์ หลังจากนั้น ราชวงค์อับบาซียะห์ และ ราชวงศ์อุษมานียะห์ (Ottoman Empire) หลังจาก อนาจักรโรมัน ล่มสลาย ยุคมืดได้ครอบงำยูโรป และมีบทบาทที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ต่อประประชาชาติมุสลิม การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศยูโรป รวมมไปถึงการฟื้นฟูและการนำระบบธนาคารดอกเบี้ย ขึ้นมาอีกครั้ง ได้เผื่อกระจายออกไปและพัฒนาได้อย่างรวดเร็วจนมาถึง กลุ่มประเทศอาหรับ จึงทำให้ยุคสมัยนี้ การที่จะพัฒนาและก่อตั้งธนาคารอิสลาม หรือ แนวคิดต่างๆ ได้หยุดชะงักลงไป แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดต่างๆที่เกิดขึ้นในยุคนี้นั้น ได้มาเป็นแบบอย่างที่ดีในยุคสมัยใหม่ ในการที่จะนำกฏเกณฑ์ต่างๆมาใช้ในระบบธนาคารอิสลามโดยให้สอดคล้องกับหลักการของชารีอะห์ต่อไป

ยุคสมัยใหม่การก่อตั้งธนาคารอิสลาม
                ในยุคนี้สามารแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน หนึ่งคือ ส่วนที่ยังเป็นแค่ด้านทฤษฏีแนวความคิด และอีกส่วนหนึ่ง การพัฒนาไปสู่การก่อตั้งจริงๆ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นยุคทองของแนวคิดเศรษฐศาสตร์อิสลาม โดยมีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น ยามาลุดดีน อัฟกานี, มูฮัมหมัด อับดุห์ ราชิด ริดา มูฮัมหมัด อิกบาล ฮาซัน อัลบันนา ซัยยิด กุตุ้บ อบุ้ลอะลา เมาดูดี้ พวกเขาเหล่านี้ได้เป็นผู้พัฒนาแนวทางความคิดเศรษฐศาสตร์อิสลาม แนวระบบการเงินอิสลามขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสังคมปัจจุบัน และ อิสลาม
                ปี 1941 ประเทศมาเลเซีย ได้มีความพยายาริเริ่มแผน ที่จะทำธนาคารอิสลาม โดยมุ่งเน้นการออมเงินและการลุงทุนของลูกค้าผู้ที่ต้องการจะไปแสวงบุญที่มักกะห์ ท้ายที่สุดก็ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ ปี1950 ประเทศปากีสถานได้จัดตั้งธนคารอิสลามท้องถิ่นขึ้นมา โดยเป็นจัดสรรเงินให้ เกษตรกร กู้ยืม โดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยได้น้ำเงินมาจาก เจ้าของที่ ฝากเงินไว้กับธนาคาร โดยไม่ต้องการผลตอบแทน ไม่มีดอกเบี้ยในการกู้ยืม หากแต่จะมีการเก็บเงินค่าธรรมเนียมเพื่อใช้ในการบริหารงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลังจากธนาคารดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ก็ได้ก่อเกิด ธนาคารอิสลามที่สำคัญยิ่งแห่งใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ ธนาคารอิสลาม Mith Ghamr ในปี 1963 ประเทศอียิปต์ ธนาคารนี้เป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจ ในยุคของธนาคารสมัยใหม่ ที่จะปูทางในการที่จะก่อตั้งธนาคารอิสลามอื่นๆตามมา ในอีกหลายๆประเทศ อย่าไรก็ตามเนื่องจากความระส่ำระส่ายของระบบการเมืองอียิปต์ ทำให้การบริหารงานเกินการสะดุด จึงทำให้ในปี 1967 ธนาคารนี้ได้ตกอยู่ภายใต้การดูแล ธนาคารแห่งชาติและธนาคารกลาง ประเทศอียิปต์ จึงส่งผลให้แนวคิดธนาคารอิสลามนั้นถูยกเลิกไป แต่อย่างไรก็ดี ในปี 1971 เมื่อประธานาธิบดี อันวาร ซาดัต ขึ้นดำรงตำแหน่ง       ระบบธนาคารอิสลามของ Mith Ghamr ได้ถูกนำมาจัดตั้งขึ้นใหม่ภายใต้ ธนาคาร Nasser Social Bank (NSB) ธนาคาร นัซเซอร์ โซเชี้ยล แบงค์ เป็นธนาคารแห่งแรกที่ให้บริการทางด้านสังคม กับกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำ และเป็นธนาคารแห่งแรกที่รัฐบาล ของประเทศมุสลิม ทีมีความต้องการและบริหารงาน โดยปราศจากดอกเบี้ย หลังจากนั้นจึงทำให้กลุ่มประเทศอาหรับ และกลุ่มประเทศเอเซียบางประเทศได้มีแรงบันดาลใจในการที่จะสรรค์สร้างธนาคารอิสลามและได้ก่อเกิดธนาคารอิสลามตามลำดับ ดังต่อไปนี้

Table 2 Islamic Banks Set Up in the 1970s and 1980s


Name

Country

Date of Establishment

Nasser Social Bank

Egypt

1972

Islamic Development Bank

Saudi Arabia

1975

Dubai Islamic Bank

United Arab Emirate

1975

Faisal Islamic Bank of Egypt

Egypt

1977

Faisal Islamic Bank of Sudan

Sudan

1977

Kuwait Finance House

Kuwait

1977

Islamic Banking System International Holding

Luxembourg

1978

Jordan Islamic Bank

Jordan

1978

Bahrain Islamic Bank

Bahrain

1979

Dar al-Mal al-Islami

Egypt

1981

Bahrain Islamic Inv. Company

Bahrain

1981

Islamic International Bank for Investment & Development

Egypt

1981

Islamic Investment House

Jordan

1981

Al-baraka Investment and Development company

Saudi Arabia

1982

Saudi-Philippine Islamic Development Bank

Saudi Arabia

1982

 

 

                ธนาคารอิสลามได้ก่อตั้งมาแล้ว กว่า 40 ปี และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมออกไปอย่างแพร่หลาย และได้ขยายสาขาออกไปไม่ว่าจะเป็นภูมิภาค ระดับประเทศ หรือ ระดับนานาชาติ จนปัจจุบัน ประเทศไทยก็ได้ต่อก่อตั้งนาคารอิสลามขึ้นมาแล้ว นี่เป็นเครื่องหมายที่ดีที่ประชาชาติมุสลิมได้ดำรงค์ไว้ ในแนวทางของอัลอิสลาม การทำการค้าขายทำธุรกิจและธุรกรรมการเงินในระบอบอิสลาม เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นกำไร ที่อนุมัติ (ฮาล้าล) ปราศจากสิ่ง ที่ต้องห้าม (ฮ่ารอม) และยังทำให้ทรัพย์สินที่เราครอบครองนั้น มีศิริมงคลที่ดี เพื่อที่เรานั้นจะได้ใช้กินและใช้จ่ายให้กับตัวของเราและครอบครัวของเราต่อไป สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่สร้างความั่นคงและแข็งแกร่ง และการพัฒนาในระดับครอบครัวอิสลาม  สังคมอิสลาม และรวมไปถึงในระดับประชาติอิสลามโลก ที่จะคงอยู่กับอัลอิสลามตลอดไป