ธนาคารและสถาบันการเงินอิสลามในประเทศอินเดีย
Islamic Financial Institutions (IFIs)

โดย ดร.สมีธ อีซอ


ปัจจุบันนี้ธนาคารอิสลาม และ สถาบันการเงินอิสลาม ได้แพร่ขยายข้ามเขตแดน จากทางด้านกลุ่มประเทศในตะวันออกกกลาง เข้ามาสู่กลุ่มประเทศเอเซีย และกลุ่มประเทศอื่นๆ อีกมากมาย เป็นการเชื่อมโยงโลกของระบบการเงินตามระบอบอิสลามเข้าด้วยกัน ซึ่งในแต่ละประเทศรูปแบบและการดำเนินการนั้น มีความแตกต่างกันไป ตามลักษณะเฉพาะของประเทศนั้นๆ แต่อุดมการณ์และหลักการยังคงหลักไว้ซึ่งตามระบอบอิสลาม โดยปราศจากสิ่งต้องห้ามตามที่ศาสนบัญญัติ ได้กำหนดเอาไว้
สำหรับในกลุ่มประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรเป็นส่วนมากหรือเป็นประเทศมุสลิม ต่างก็ได้ใช้สถาบันการเงินอิสลามเป็นตัวหลักที่จะขับเคลื่อนระบบการเงินภายในประเทศ เช่น กลุ่มในประเทศอาหรับต่างๆ กลุ่มประเทศแอฟริกา และบางประเทศในเอเซีย เช่น ปากีสถาน อีหร่าน มาเลเซีย อินโดนิเซีย และอื่นๆ
สำหรับประเทศอินเดียนั้น สถาบันการเงินอิสลามและธนาคารอิสลาม ไม่ค่อยได้รับการตอบรับเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากหลายๆปัจจัย อาทิ ปัจจัยเรื่องศาสนา ปัจจัยเรื่องมุสลิมประชากรส่วนน้อย รวมถึงไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล ที่จะให้สถาบันการเงินอิสลามได้เป็นทางเลือกหนึ่ง ในการจัดการบริหารการเงินของประเทศ อาจจะพูดได้ว่าปัจจุบันประเทศอินเดียไม่มีธนาคารอิสลาม  เนื่องจากรัฐบาลไม่อนุญาติให้จัดตั้ง Private bank และธนาคารต่างๆมากมาย ไม่อนุญาติให้มีการลงทุนและถือหุ้นในระบบกำไรและขาดทุนร่วมกัน (ซึ่งเป็นระบบที่ถูกต้องตามอิสลาม) และ ข้อบังคับในเรื่องของการลงทุนในกองทุนต่างๆรวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมนั้นไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ในธนาคารที่ใช้ระบบอิสลาม
สำหรับประเทศที่ไม่มีธนาคารอิสลามนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถที่จะดำเนินการในระบบการเงินตามระบอบอิสลามได้ ในหลายๆประเทศรวมถึง ประเทศอินเดีย ได้มีสถาบันการเงินและองค์กรต่างๆมากมาย รูปแบบที่หลากหลาย ขนาดขององค์กรที่แตกต่างกัน อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ปัจจุบันความพยายามของสถาบันและองค์กรต่างๆเหล่านี้เป็นเครื่องหมายที่ดี ของประชาชมมุสลิมในอินเดีย ในสภาวะการณ์ ที่ประเทศไม่ใช่ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม กับการที่จะเกิดธนาคารอิสลามที่แท้จริง ในวันข้างหน้า ซึ่งสถาบันและองค์กรต่างเหล่านี้ถูกตั้งชื่อว่า  Islamic Financial Institutions (IFIs) ได้ถูกแบ่งแยกเป็น 2 ประเถท
1.Non-Profit (Leasing) Institution
จากข้อมูลสมารถบ่งชี้ได้ว่า สถาบันต่างๆเหล่านี้อยุ่ในหลายๆภูมิภาคของประเทศ ที่จะระดมทุน และ ตระเตรียมเงินให้กู้ยืม โดยปราศจากดอกเบี้ย มีบางองค์กรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับรัฐ แต่ส่วนใหญ่ขององค์กรได้ขึ้นจดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมายในรูปแบบของ องค์กรสวัสดิการสังคม และสถาบันสินเชื่อ โดยประมาณได้ว่ามีถึง 300 องค์กรที่ไม่หวังผลกำไรตอบแทน  เป็นจำนวนเงินรวม 800 ล้านรูปี สถาบันต่างๆเหล่านี้จะไม่มีการตอบแทนใดๆหรือผลประโยชน์อื่นสำหรับผู้ฝากเงิน และจะไม่มีการคิดดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้ยืมเงิน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
1.1Charity Type
เป็นองค์กรการกุศล ที่ทำโดยมิได้หวังผลตอบแทน ก่อตั้งโดยกลุ่ม Jamat el Islam โดยจัดตั้งเป็นองค์กรสวัสดิการสังคม หรือ สถาบันสินเชื่อ โดยไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยคืนสำหรับผู้ที่กู้ยืมเงินไป และกองทุนเงินฝากก็จะไม่ได้รับผลตอลแทนใดๆ ซึ่งนำกองทุนมาจาก กลุ่มคนผู้หวังดี ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริการองค์กร ได้รับเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือมาจากกลุ่มอื่นๆ เมื่อมีการกู้ยืมเงินที่มาก และค่าใช้จ่ายในการบริหารงานที่สูง และกองทุนเงินฝากเริ่มน้อยลงจึงทำให้ขาดสภาพคล่องในการหมุนเวียนเงิน ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะขยายหรือพัฒนา ต่อมาไม่นาน องค์กรต่างๆเหล่านี้ต่างก็ล้มเลิกการดำเนินการ ตั้งแต่จุดประสงค์และรุปแบบขององค์กรถูกต่อต้านและคุกคาม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 1977 ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการใดๆได้อีกเลย
1.2Club Type
องค์กรนี้ถูกก่อตั้งโดย Toor Baitul Maal ของเมืองไฮเดอรราบัด ในปี 1966 และได้มีการทำตามเป็นจำนวนมากทางตอนใต้ของอินเดีย รูปแบบการดำเนินการนั้น จะเก็บค่าสมาชิเป้นรายเดือนโดยมีกำหนดเวลาที่แน่นอน โดยแลกกับสิสิทธ์ใกนการที่กู้ยืมเงิน เงินกองการที่เก็บมาจากค่าสมาชิกจะถูกเก็บไว้ใช้ในการบริหารส่วนหนึ่งและกองทุนให้กู้ยืมอีกส่วนหนึ่ง ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลักจากนั้นก็ได้หยุดชะงักลง และปัจจุบันใกล้จะหมดสิ้นลงไปทุกที อันเนื่องมาจาก ขาดแคลนแรงผลักดันขององค์กร และ เกิดความผิดพลาดในการใช้ประโยชน์อย่างให้คุ้มค่าที่สุด
1.3 Muslim fund Type
ถูกก่อตั้งโดย Muslim Fund Deoband ในปี 1961 ถูกขึ้นทะเบียนดำเนินการในลักษณะ สถาบันสินเชื่อ องค์กรได้ระดมเงินฝากโดยไม่มีผลตอบแทนให้ และ นำไปให้กู้ยืมเงิน โดยปราศจากดอกเบี้ย แลกเปลี่ยนกับ การคุ้มครองของมีมูลค่า ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานนั้นมาจาก ผู้ที่ต้องการจะกู้ยืมเงินนั้นจะต้องเสยค่าใช้จ่ายซื้อ Application forms และราคาของ Application forms ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ขอกู้ ในระบบนี้เห็นได้ชัดว่า การซื้อขาย Application forms เป็นส่วนหนึ่ง และการกู้ยืมเงินนั้นเป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นสองสัญญา ที่แยกออกจากกัน ซึ่งถูกอนุมัตในระบอบอิสลาม แต่อย่างไรก็ตามนักการศาสนายอมรับในช่วงแรกๆของการดำเนินการ และในปัจจุบัน เริ่มมีความคิดเห็นคัดแย้งในกลุ่มผุ้รู้ เพราะสาเหตุอันเนื่องมาจากเก็บดำเนินการหรือการซื้อ Application forms ที่แพงจนเกินไป
1.4 Baitun Nasr
ขึ้นทะเบียนในระบบ สหกรณ์สินเชื่อ กองทุนน้ำมาจากกการ ผู้นำเงินมาฝาก และผู้ทีลงทุนในกองทุน ขององค์กร จะไม่มีการจ่ายค่าผลตอบแทนให้  เงินจะถุกให้สมาชิกกู้ และค่าบริหารงานจะถูเรียกจากพวกเขาเหล่านั้น โดยไม่มีระบบดอกเบี้ย ของการบริหารงาน อย่างไรก็ตามขอบเขตได้ถูกตีกรอบ และจำกัด ตามภูมิภาค เช่น ในเขตเทศบาลเมือง Bombay มีเพียงแค่ 17 สาขาเท่าน้นตามแหล่งที่มีมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ระบบนี้ไม่ค่อยได้รับความแพร่หลายเท่าที่ควร
2.Profit Sharing Institution
เป็นลักษณะในการขึ้นทะเบียน ธนาคารสหกรณ์ขนาดเล็ก ซึ่งมีการร่วมทุน โดยระดทุนมาจาก แบ่งกองทุนเป็นส่วนๆให้ผู้ถือหุ้น และ ระดมเงินฝาก เพื่อเพิ่มอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้น กำไรจะถูกแจกจ่ายไปยังผู้ถือหุ้น และ ผู้ฝากเงิน ถูกประมาณการได้ว่าองค์กรในรูปแบบนี้นี้มีเงินหมุนเวียนในองค์กร ที่ 1000 ล้านรูปี โดยมี 3 องค์กรใหญ่ เป็นผู้ถือหุ้นและครอบครอง
2.1 Al-Ameen Islamic Financial and Investment Corporation (India) Private Limited (AIFIC)
ก่อตั้งในปี 1986 ในเมือง Bangalore และมีสาขาต่างๆมากมายทางตอนใต้และทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง Al-Ameen Group ทีเป็นผู้สร้างองค์กรกุศลต่างๆมากมาย ในเรื่องของการศึกษา สุขภาพอนามัย และอื่นๆ
2.2 Al-Baraka Finance House Limited
เป็นสถาบันเดียวที่มีเงินของต่างชาติมาลงทุนในประเทศ โดย กลุ่ม Dallah Al-Barakah Group of Saudi Arabia 1989
2.3 Barakat Investment Group
ตั้งถื่นฐานอยู่ในเมือง Bombay ซึ่งเป็นสวนหนึ่ง ของ Bait-un-Nasr Urban Co-operative Society Limited ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลาย เช่น การเช่า, ตลาดหลักทรัพย์, และการลงทุนในระบบแชร์กำไรขาดทุนเข้าด้วยกัน และอื่นๆมากมาย         
ถึงแม้ว่าธนาคารอิสลามจะยังไม่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียแต่ความพยายามของสถาบันการเงินอิสลามต่างๆเหล่านี้ เป็นเครื่องหมายที่ดีในอนาคต และเป็นความหวังขงอประชาชนมุสลิมในอินเดียที่จะได้เห็นระบบธนาคารอิสลามที่แท้จริงจะเกิดขึ้นบนประเทศที่ไม่ใช่ประเทศที่เป็นมุสลิมแห่งนี้....อินชาอัลเลาะห์ บิอิซนิ้ลลาห์